ปัญหาการผลิตและแนวทางการพัฒนาปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

 

ปัญหาการผลิตและแนวทางการพัฒนาปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

 (บทความจาก สัมมนาวิชาการเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาการผลิต

และการควบคุมมาตรฐานปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน)

รองศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ โอสถสภา

http://www.dryongyuth.com

อาจารย์พิเศษ  ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

              


 

         ปุ๋ยเชิงผสม คือ ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมี ชนิดหรือประเภทต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามที่ต้องการ สำหรับ "ปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบคลุกเคล้าหรือแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน  (bulk blends)" ถึงปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยชนิดเม็ดมาผสมกันเป็นการผสมเชิงกล มีการคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยและสารเติมน้ำหนัก (filler) ให้เข้ากัน เพื่อให้ได้ปุ๋ยตามสูตรที่ต้องการ แม้จะผสมเชิงกล แต่ถือเป็นการผลิตปุ๋ยตามพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550  ซึ่งตราไว้ในมาตรา 3 ว่า “การผลิต หมายความว่า  ทำ ผสม  แปรสภาพ  ปรุงแต่ง  เปลี่ยนภาชนะบรรจุ  หรือหีบห่อบรรจุ  หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยเคมี” การเรียกชื่อปุ๋ยผสมชนิดนี้ว่า “ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า” สื่อให้ทราบถึงกรรมวิธีการผสม คือ คลุกเคล้าแม่ปุ๋ยชนิดเม็ดที่เป็นส่วนผสมให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการเรียกว่า “ปุ๋ยเชิงผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน” เนื่องจากปุ๋ยผสมประกอบด้วยแม่ปุ๋ยต่างชนิดซึ่งคลุกเคล้ากันนั้น โดยสภาพของรูปทรงเม็ดและองค์ประกอบทางเคมีในแต่ละเม็ดของแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด  เหมือนกับก่อนที่จะนำมาผสม ส่วนคำ bulk blend fertilizer นั้น เป็นคำที่ขยายมาจาก bulk fertilizer ซึ่งหมายถึงปุ๋ยไม่บรรจุหีบห่อหรือปุ๋ยเทกอง ส่วน blend แปลว่าผสมผสาน กลมกลืนหรือผสมกันหลายอย่าง (คำนี้นิยมใช้ในการผลิตยาสูบและชา) เนื่องจากในการการผลิตปุ๋ยผสมประเภทนี้ในยุคแรกๆ มีผสมคราวละมากๆ แล้วขนส่งผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากโรงผสมไปยังไร่นาของเกษตรกร โดยไม่บรรจุถุง ตรงกับความหมายของ bulk คือ (สินค้า) ไม่บรรจุกระสอบหรือหีบห่อ แต่เมื่อพิจารณาการจัดจำหน่าย “ปุ๋ยเเชิงผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน” ในปัจจุบันที่บรรจุถุงและวางจำหน่ายกันโดยทั่วไป เห็นได้ว่าแตกต่างไปจากแนวทางดั้งเดิมมาก

อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่