สมบัติทางกายภาพบางประการของปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดกับคุณภาพของปุ๋ยผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

 

สมบัติทางกายภาพบางประการของปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด

กับคุณภาพของปุ๋ยผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

(บทความจาก สัมมนาวิชาการเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาการผลิต

และการควบคุมมาตรฐานปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน)

รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ โอสถสภา

http://www.dryongyuth.com

อาจารย์พิเศษ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 


 

                ลักษณะทางกายภาพหรือสมบัติทางฟิสิกส์ของปุ๋ย มีความสำคัญทั้งทางด้านผลการใช้ในไร่นา ความพึงพอใจของเกษตรกรในแง่ความสะดวกด้านการขนส่ง  เก็บรักษา  ตลอดจนการหว่านปุ๋ย  สำหรับปัญหาหลักของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยในปัจจุบัน  ส่วนมากเป็นเรื่องของสมบัติทางกายภาพ  เช่น  จับตัวกันเป็นก้อน (caking)  มีฝุ่นฟุ้ง (dustiness)  ลื่นไหลไม่คล่อง (poor flowability)  เม็ดปุ๋ยแยกตัว (segregation)  และปุ๋ยชื้นง่าย (excessive hygroscopicity) เป็นต้น

                โดยทั่วไปเกษตรกรให้การยอมรับและพึงพอใจปุ๋ยชนิดหนึ่ง ยิ่งกว่าอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีสูตรเดียวกัน  โดยยึดถือสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยนั้นเป็นหลัก  ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะทางกายภาพที่ดีของปุ๋ยมักปรากฏชัดและสัมผัสง่าย  ทั้งเกษตรกรก็มั่นใจด้วยว่าปุ๋ยเช่นนั้น  ขนถ่ายง่าย  ใช้สะดวก  หว่านได้สม่ำเสมอ  และใช้แรงงานในการหว่านน้อยกว่าปุ๋ยที่มีสมบัติด้านนี้เลว

                เป็นที่น่าสังเกตว่าพระราชบัญญัติปุ๋ยของประเทศต่าง ๆ  ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน มีหลายมาตราที่ว่าด้วยองค์ประกอบด้านธาตุอาหาร  แต่มักไม่มีมาตราใดที่ระบุชัดเจนถึงการควบคุมด้านสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยเคมี  ด้วยเหตุนี้แนวทางปฏิบัติในวงการค้าปุ๋ย  จึงอาศัยเพียงข้อตกลงว่าด้วยสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยเคมีแต่ละชนิด  ระหว่างผู้ผลิตกับผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น  ยังไม่มีสิ่งจูงใจซึ่งมากพอที่จะดึงให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายหันมาทำความตกลง  เพื่อกำหนดมาตรฐานของการทดสอบสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยขึ้นใช้  และยอมรับกันทั่วทั้งวงการ  สำหรับผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่บางรายจะกำหนดวิธีการทดสอบปุ๋ยของตนไว้  และใช้กันเฉพาะในเครือข่ายของการค้าซึ่งบริษัทนั้น ๆ เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันมีวิธีวิเคราะห์ปุ๋ยทางกายภาพหลายรายการ สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงเพียง 4 ประการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพของปุ๋ยผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกันโดยตรง  คือ  1) ขนาดของเม็ด 2) ความแข็ง  3) ความหนาแน่นรวม และ 4) ความชื้นสัมพัทธ์วิกฤต

อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่